หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตัวอักษร Zoom ด้วยโปรแกรม Flash

เทคนิคและวิธีใช้โปรแกรม Flash ในการทำตัวอักษรซูม มีมิติ เป็นขั้นตอนเข้าใจง่ายดังต่อไปนี้

  1. เปิดไฟล์ใหม่ กำหนด Movie Properties ตามต้องการ
  1. พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงใน layer 1 โดยจะปรากฎ key frame ในเฟรมแรกของเลเยอร์ 1 โดยอัตโนมัติ
  1. ตัดตำแหน่งข้อความตามต้องการ
  1. คลิกเลือกข้อความแล้ว กด F8 เพื่อแลงเป็น Symbol แบบ กราฟิก (Graphic)
  1. นำเมาไปคลิกขวาใน เฟรม ปลายทาง (สมมุติเฟรมที่ 20)เลือกคำสั่ง Insert, keyframe เพื่อกำหนดจุดปลายทาง
  1. นำเมากลับมาคลิกขวาที่เฟรมแรก(เฟรมที่ 1) เลือกคำสั่ง Insert, Create Motion Tween
  1. ย่อขนาดข้อความในเฟรมที่ 1 ในเล็กลง
  1. ทดลองรันงานโดย กด Ctrl+Enter
          ทดลองเปลี่ยนสี ความสว่าง หรือความโปร่งใส่ให้กับข้อความ โดยนำเมาส์ไปคลิกที่เฟรม Instance แบบ Graphic แล้วไปที่ Panal Properties แล้วเลือกตรงช่อง Color
    ทำตัวอักษรซูมด้วย-flash
  • Tint : แล้วเลือกสีที่ต้องการ
  • Alpha : แล้วกำหนดค่าความโปร่งใส่ที่ต้องการ
  • Brightness : แล้วเลือกสีที่ต้องการ

วิธีใช้ Adobe flash CS3 เบื้องต้น

วิธีใช้ Adobe flash CS3 เบื้องต้น

การสร้างสื่อการเรียนรู้ สื่อนำเสนอ หรืองานออกแบบต่างๆ ย่อมจะหนีไม่พ้นการออกแบบ สร้างสรรค์งานกราฟิก หากสามารถสร้างงาน ออกแบบงานกราฟิกด้วยตนเอง คงจะสร้างความ

ภูมิใจได้มาก แต่ปัญหาใหญ่ของการสร้างสรรค์งานกราฟิกของหลายๆ ท่านก็คือ “วาดภาพไม่เป็น”หรือ “สร้างผลงานไม่ได้” แต่ด้วยความสามารถของโปรแกรม Macromedia Flash เครื่องมือช่วยสร้างสรรค์งานกราฟิกที่ง่ายในการเรียนรู้
และประยุกต์ใช้งาน พร้อมๆ กับแนวทางการวาดภาพจากคู่มือฉบับนี้ จะลืมคำว่า “วาดยาก” ไปเลย เนื่องจาก Flash เป็นซอฟต์แวร์สร้างสรรค์งานกราฟิกในฟอร์แมต Vector ที่ภาพกราฟิกทุกภาพประกอบจากเส้นโครงร่างที่ทำให้การปรับแต่ง แก้ไข หรือ
ออกแบบภาพ ทำได้ง่ายด้วยเทคนิค “ตัด เชื่อม ปรับเปลี่ยนรูปร่าง”
Macromedia Flash CS3 เป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดจากค่าย Macromedia ที่พัฒนามาเพื่อสนับสนุนการสร้างงานกราฟิก ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว สำหรับการนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Flash มีฟังก์ชันช่วยอำนวยความสะดวก ในการสร้างผลงานหลากหลายรูปแบบตลอดจนชุดคำสั่งโปรแกรมมิ่งที่เรียกว่า Flash Action Script ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถคอมไพล์ (Compile) เป็นโปรแกรมใช้งาน (Application Program) เช่น การทำเป็น e-Cardเพื่อแนบไปพร้อมกับ e-Mail ในโอกาสต่างๆ
การเรียกใช้โปรแกรม Flash

การเรียกใช้งานโปรแกรม Flash มีหลักการคล้ายๆ กับการเรียกโปรแกรมทั่วๆ ไปของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยเริ่มจากการคลิกปุ่ม Start จากนั้นเลื่อนไปคลิกที่รายการ
Program, Adobe Flash CS3 Professional รอสักครู่จะปรากฏหน้าต่างการทำงาน ซึ่งมีโหมดการทำงานให้เลือกได้หลายลักษณะได้แก่• การเปิดไฟล์จากคำสั่ง Open a Recent Item
• การสร้างงานผลงานจากรายการ Create New
• การสร้างผลงานแม่แบบ Create from Template
จอภาพการทำงานของ Flash
คลิกเพื่อดูภาพขยาย
เมื่อคลิกเลือกการสร้างผลงานใหม่ของ Flash จากรายการ Create New Flash File จะ ปรากฏส่วนประกอบจอภาพการทำงานดังนี้
คลิกเพื่อดูภาพขยาย



แถบเครื่องมือหลัก (Main Toolbar)

แถบเครื่องมือควบคุมการทำงานหลักของโปรแกรม เช่น การสร้างไฟล์ใหม่, การเปิดไฟล์,
การคัดลอกข้อมูลเป็นต้น โดยสามารถควบคุมให้แสดง หรือไม่ต้องแสดงโดยคลิกเลือกคำสั่ง
Window, Toolbars, Main
คลิกเพื่อดูภาพขยาย
แถบเครื่องมือ (Toolbox)
กลุ่มเครื่องมือสร้างงานและจัดการวัตถุ ประกอบด้วยปุ่มเครื่องมือย่อยต่างๆ สามารถเปิด/
ปิดด้วยคำสั่ง Window, Tools โดยสามารถแบ่งเครื่องมือเป็นหมวดๆ ได้ 5 หมวด คือ เครื่องมือ
หมวดเลือกวัตถุ (Selection) เครื่องมือหมวดวาดภาพ (Drawing) เครื่องมือจัดแต่งวัตถุ (Modify)
เครื่องมือควบคุมมุมมอง (View) และเครื่องมือควบคุมสี (Color)
Document Tab
ส่วนควบคุมเอกสาร สามารถคลิกเพื่อสลับเปลี่ยนจอภาพเอกสาร
Document Tab
Timeline & Layer
Timeline เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมการนำเสนอผลงาน สามารถเปิด/ปิดด้วยคำสั่ง
Window, Timeline
คลิกเพื่อดูภาพขยาย
Layer ส่วนควบคุมการสร้างชั้นวัตถุ เพื่อให้การควบคุมวัตถุแต่ละชิ้น มีอิสระ และสะดวก
ต่อการแก้ไข ปรับแต่ง
Layer

Stage & Workspace

Stage & Workspace
จากรูปตัวอย่างนี้ เมื่อสั่งนำเสนอผลงาน แสดงว่าจะกำหนดให้เรือยังไม่ต้องแสดงผลทันที
บนจอภาพ เพราะเรือถูกนำไปวางไว้ในพื้นที่สีเทา เมื่อนำมาทำเป็น Movie ให้เรือวิ่งผ่านจอภาพไป
อีกด้านหนึ่ง ก็จะปรากฏเรือวิ่งผ่านจอจากด้านซ้ายไปด้านขวาของจอ ตามช่วงเวลาที่กำหนด
Panel
หน้าต่างเล็กๆ ที่ทำหน้าที่แสดงคำสั่งควบคุมย่อยต่างๆ ของโปรแกรม โดยจะปรากฏ
รายการคำสั่งในเมนู Window
คลิกเพื่อดูภาพขยาย
ควบคุม Panel
Panel เป็นจอภาพเล็กๆ ที่แสดงฟังก์ชันการทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การทำงานเกี่ยวกับสีจะ
ควบคุมด้วย Color Mixer หรือ Color Swatches การจัดตำแหน่งวัตถุต่างๆ ควบคุมด้วย Align Panel
เป็นต้น การเรียกใช้หรือเปิด/ปิด Panel จะใช้คำสั่ง Window แล้วตามด้วยชื่อ Panel นั้นๆ

ทำงานกับไฟล์ Flash

โปรแกรม Flash สามารถสร้างผลงานได้ทั้งภาพนิ่ง ที่เรียกว่า (Still Image) และ
ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งจะเรียกว่า Movie ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จำเป็นต้องเริ่มต้นจากไฟล์
Flash ต้นฉบับ ที่มีส่วนขยายเป็น .fla จากนั้นจึงบันทึกเป็นไฟล์ภาพใช้งาน สำหรับภาพนิ่ง สามารถ
เลือกบันทึกได้หลายฟอร์แมต เช่น
Adobe Illustrator = .ai
GIF Image = .gif
Bitmap = .bmp
AutoCAD DXF Image = .dxf
Enhanced Metafile = .emf
EPS 3.0 = .eps
JPEG Image = .jpg
PICT = .pct
PNG Image = .png
Windows Metafile = .wmf
ภาพเคลื่อนไหว หรือ Flash Movie สามารถบันทึกในฟอร์แมตที่พร้อมใช้งาน ได้ดังนี้
Flash Movie = .swf
Animation GIF Image = .gif
QuickTime = .mov
Windows AVI = .avi
Execute File = .exe
สร้างไฟล์ใหม่
ไฟล์ Flash ที่สร้างใหม่ทุกครั้ง ควรกำหนดคุณสมบัติให้เหมาะสม ด้วยคำสั่ง Modify
Document เช่น ความกว้าง/ความสูงของ Stage ลักษณะสีพื้นของ Stage เป็นต้น
เปิดไฟล์
การเปิดไฟล์ภาพใช้คำสั่ง File, Open... หรือคลิกปุ่ม Open จากMain Toolbar
นอกจากนี้ยังสามารถเลือกไฟล์ที่เคยเปิดได้จากเมนูคำสั่ง File, Open Recent
การคืนสู่สภาพเดิม (Revert)
ไฟล์ที่กำลังแก้ไข ถ้าต้องการคืนกลับสู่สภาพก่อนการแก้ไข ใช้คำสั่ง File, Revert
ปิดไฟล์
ไฟล์ที่สร้าง หรือเปิดอยู่ หากต้องการปิดไฟล์ สามารถใช้คำสั่ง File, Close หรือ File, Close
All ทั้งนี้ไฟล์ที่ยังไม่ได้ผ่านการบันทึก โปรแกรมจะแสดงกรอบเตือน ถ้าต้องการบันทึกไฟล์ก่อน
ปิด ก็คลิกปุ่ม Yes เพื่อเข้าสู่โหมดการบันทึกไฟล์ แต่ถ้าต้องการปิดไฟล์โดยไม่บันทึกก็คลิกปุ่ม No
หรือคลิกปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิกการปิดไฟล์ กลับสู่จอภาพสร้างงานตามปกติ
บันทึกไฟล์
ภาพที่วาดที่สร้างเสร็จแล้ว หรือปรับแต่งแก้ไขแล้ว ควรบันทึกไฟล์เก็บไว้ทุกครั้ง โดยไฟล์
ต้นฉบับจะได้ส่วนขยายเป็น .fla การบันทึกไฟล์สามารถใช้คำสั่ง File, Save… หรือ File, Save
As…
จุดสังเกตว่าไฟล์ได้ผ่านการบันทึกแล้วหรือไม่ ก็ดูได้จากชื่อไฟล์ใน Title Bar หากมี
เครื่องหมาย * แสดงว่ายังไม่ผ่านการบันทึก


เรื่องน่าสนใจและน่ารู้ของโปรแกรม อะโดบี แฟลช ( Adobe Flash )

https://images-blogger-opensocial.googleusercontent.com/gadgets/

           โปรแกรมที่ชื่อ อะโดบี แฟลช นั้นหรือเรียกในชื่อภาษาอังกฤษว่า Adobe Flash มีชื่อเดิมว่า แมโครมีเดียแฟลชแฟลช ( Macromedia Flash ) และ ช๊อกเวฟแฟลช ( Shockwave Flash ) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนพวกสื่อมัลติมิเดียที่ใช้สำหรับสร้างพวกเนื้อหาเกี่ยวกับ แฟลช ( Flash ) ตัว แฟลช เพลย์เยอร์ ( Flash Player ) จะนำไปพัฒนาและแพร่กระจายโดย อะโดบีซิสเต็มส์ โปรแกรมนี้เริ่มต้นพัฒนาจากบริษัท ฟิวเจอร์แวร์ และก็มีการเปลี่ยนแปลงชื่อว่า แมโครมิเดียและกิจการก็มีการเปลี่ยนคนควบคุมโดย อะโดบี เป็นโปรแกรมที่เว็บเบราว์เซอร์นั้นต้องการควบคู่ไปด้วยกันเพราะทำให้สามารถแสดงตัวของมันเองได้ แล้วทำให้สามารถรองรับ ภาพแบบเรสเตอร์ และ ภาพแบบเวกเตอร์ และยังมีภาษาคริปต์ที่ใช้เขียนในเรื่องเฉพาะเรียกว่า แอ็กชันสคริปต์ ( ActionScript ) แล้วยังมีความสามารถเล่นงวิดีโอ และ เสียง แบบสเตริโอได้อีกด้วยโปรแกรมนี้สำคัญมากในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปและยังมีประโยชน์ต่อโทรศัพท์มือถือบางรุ่นอีกต่างหากเพราะบางทีถ้าไม่มีโปรแกรมพวกนี้อาจจะทำให้ไม่มีเสียงและดูวิดีโอไม่ได้
แฟลช ( Flash ) มีผู้คนรู้จักค่อนข้างน้อยในช่วงแรก ๆ แล้วก็เริ่มมามีชื่อเสียงในปี ค.ศ. 1996 แล้วในเวลาต่อมาไม่นานนักเทคโนโลยีแฟลชจึงกลายเป็นที่นิยมต่อผู้คนส่วนมากเพราะเป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งที่ต้องมีเพราะถ้าไม่มีจะไม่สามารถใช้หลายๆโปรแกรมได้ และการเสนอ อินเตอร์เอกทีฟ และ แอนิเมชั่น ตามเว็บเพจทั่วไป และโปรแกรมอื่น ๆ เช่น โปรแกรมระบบ และ เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในความสามารถของ แฟลช ( Flash ) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กับการสร้างคอมพิวเตอร์แมนิเมชันต่าง ๆ เช่น นำมาออกแบบเว็บไซต์ต่าง ๆ และทำโฆษณาออกแบบส่วนตัว แล้วสามารถยังทำได้อีกหลากหลายมากมายและ แฟลช ( Flash ) ยังมีประโยชน์ต่อคอมพิวเตอร์อย่างมาก
ผู้คนนั้นนิยมใช้ แฟลช ( Flash ) ไปในทางที่ต่างกันบางกลุ่มใช้ออกแบบสร้างภาพจำลองและอีกกลุ่มใช้สร้างภาพแอนิเมชั่น เช่น การ์ตูนต่าง ๆ และแตกประโยชน์ไปอีกมากมาย แฟลช ( Flash ) สามารถสร้างอะไรได้มากมายปัจจุบันนั้นหลัก ๆ ก็มี Games ต่าง ๆ ที่ใช้แฟลช ( Flash ) มีส่วนในการสร้าง
ไฟล์ Flash ในบางกลุ่มคนอาจเรียกว่า Flash movies ทั่วไปกับไฟล์ที่มีนามสกุล .flv และ .swf
แมโครมีเดีย เจเนเรเตอร์ เป็นจุดที่ก่อกำเนิดจุดแรกเริ่มจากแมโครมีเดียที่แบ่งการดีไซน์จากเนื้อหาในไฟล์แฟลช เจเนเรเตอร์ 2.0 ได้มีการวางจำหน่ายในเดือนเมษายน ค.ศ. 2000 ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือมีความสามารถในการเป็นตัวจำลองเซิร์ฟเวอร์แบบเรียลไทม์ของการสร้างเนื้อหา Flash รุ่น Enterprise. เจเนเรเตอร์ แผนงานบางส่วนได้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2002 เพราะได้เข้ารวมกับเทคโนโลยีใหม่ เช่น เซิร์ฟเวอร์ โพลด์ฟิวชั่น กับ Flash Remoting และปัจจุบันนี้โปรแกรม Flash ยังจำเป็นต่อผู้คนในสมัยนี้มาก

การเปิดใช้งานโปรแกรม

การเปิดใช้งานโปรแกรม
วิธีที่ 1 ดับเบิลคลิกรูปสัญลักษณ์ icon Desktop ดังภาพ   
 วิธีที่ 2 คลิกปุ่ม Start > Programs > Macromedia > Macromedia Flash 8
โปรแกรมจะเริ่มทำงานแล้วเข้าสู่หน้าต่างต้อนรับดังภาพ
3. ส่วนประกอบของโปรแกรม Flash 8

หมายเลข 1 คือ
Title Bar แสดงปุ่มควบคุมหลัก (Control Menu) ชื่อโปรแกรม และปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม
หมายเลข 2 คือ
 Menu Bar แสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม
หมายเลข 3 คือ
Toolbar แสดงปุ่มเครื่องมือการทำงานมาตรฐานของโปรแกรม เช่น ปุ่มเปิดงานใหม่เปิดไฟล์เอกสาร, จัดเก็บไฟล์ เป็นต้น
หมายเลข 4 คือ
Toolbox แสดงปุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการวาดภาพ สร้างภาพ
หมายเลข 5 คือ
Timeline หน้าต่างแสดงเส้นควบคุมเวลาสำหรับการนำเสนอผลงาน ประกอบด้วยส่วนทำงาน  เกี่ยวกับ Layer และ Timeline
หมายเลข 6 คือ
Stage พื้นที่ส่วนที่ใช้ในการวางวัตถุต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่า "เวที"
เมื่อมีการนำเสนอผลงานจะ แสดงเฉพาะวัตถุบน Stage เท่านั้น
หมายเลข 7 คือ
Panel หน้าต่างควบคุมฟังก์ชันงาน ซึ่งมีหลายฟังก์ชัน (หลายหน้าต่าง)
ได้แก่ เมน ูFile, Edit, Insert, Modify, Text, Commands, Control, Windows และ Help
            
          
ถาดปรับแต่งสี (Color Mixer Palate)ใช้เลือกสีเส้นและสีพื้นหลังรวมถึงผสมสีแบบต่างๆ
ถาดเก็บทรัพยากรต่างๆ (Library Palate) เช่น ซิมโบล เสียง ภาพ วิดีโอ เป็นต้น
Frame    เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลซึ่งอาจเป็นคำสั่ง รูปภาพหรือข้อความที่แสดงให้ผู้ชมได้เห็น 
Layer      เป็นส่วนที่เก็บข้อมูล แยกออกจากกันเป็นชั้นๆเหมือนแผ่นใสเพื่อง่ายต่อการจัดการและแก้ไข
Stage     เป็นพื้นที่แสดงมูฟวี่ (Movie) ที่อยู่ในเฟรม (Frame) และ เลเยอร์ (Layer)
 แถบคำสั่ง (Menu Bar)
แถบคำสั่ง (Menu bar) ประกอบด้วยคำสั่งต่าง ๆ สำหรับใช้งานทั่วไป เหมือนโปรแกรมอื่น ๆ
      
แถบเครื่องมือ (Tool Bar)

ในการเปิดใช้งานครั้งแรกแถบเครื่องมือจะไม่แสดงให้คลิกที่เมนู Windows > Toolbars > แล้วคลิกทำเครื่องหมายถูกที่ Main, Controller และ Edit Bar ดังภาพ
กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
กล่องเครื่องมือ (Toolbox) เป็นส่วนที่เก็บเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เพื่อสะดวกในการเรียกใช้งาน ดังภาพ
 

1. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับเลือก
  

2. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับวาดและตกแต่งภาพ
  

3. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับปรับมุมมอง
 

4. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับปรับสีเส้นและสีพื้นหลัง

5. ถาดเครื่อง (Palate Tool) อยู่ด้านขวามือของหน้าจอเช่น ถาดปรับแต่งสี ถาดเก็บทรัพยกรต่างๆ

Timeline Frame และ Layer
Timeline เป็นส่วนที่กำหนดความสั้นยาวของมูฟวี่ (Movie)
 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรม Flash

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรม Flash
โปรแกรม Flash คืออะไร ?
โปรแกรม Flash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ภาพเคลื่อนไหว (Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด เนื่องจากเป็นกราฟิกแบบเว็คเตอร์(Vector), สามารถเล่นเสียงและวีดิโอ แบบสเตริโอได้, สามารถสร้างงานให้โต้ตอบกับ
ผู้ใช้(Interactive Multimedia) มีฟังก์ชั่นสำหรับการเขียนโปรแกรม (Action Script) และยังทำงานในลักษณะ CGI โดยเชื่อมต่อกับ
การเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ภาษา
การเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ภาษา PHP, JSP, ASP, ASP.NET, C/C++, C#, C#.NET, VB, VB.NET, JAVAและอื่นๆ โดยเฉพาะข้อดีของโปรแกรม Flash คือ ความสามารถในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก มีผลทำให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่น ได้หลากหลาย เช่น avi, mov, gif, wav, emf,eps, ai, dxf, bmp, jpg, gif, png เป็นต้น
Adobe Flash(อะโดบี แฟลช)
ซึ่งยังหมายถึง Macromedia Flash Player 
และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการเขียนสื่อมัลติมีเดียที่เอาไว้ใช้สร้างเนื้อหาเกี่ยวกับ Flash ซึ่งตัว Flash Player พัฒนาและเผยแพร่โดย อะโดบีซิสเต็มส์ 
(เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท ฟิวเจอร์แวร์ ตอนหลังเปลี่ยนเป็น แมโครมีเดีย 
ซึ่งภายหลังถูกควบรวมกิจการเข้ากับ Adobe
.swf
ไฟล์ .swf เป็นไฟล์ที่สมบูรณ์, ถูก compiled แล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้อีก
สามารถเล่นได้ในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรม Flash Player
.fla
ไฟล์ .fla เป็นไฟล์ต้นฉบับของโปรแกรม Flash โปรแกรมที่ใช้เขียน Flash สามารถแก้ไขได้ และ compile ให้เป็นไฟล์ .swf ได้
.flv
ไฟล์ .exe เป็นไฟล์ที่ถูก compiled แล้ว เป็น Application ซึ่งได้รวมเอาโปรแกรมเสริม (Flash Player) เข้าไว้ด้วยกันไม่สามารถแก้ไขได้
สามารถเล่นได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมเสริม




เจ้าของผลิตภัณฑ์
[spaces:0]

โปรแกรม Flash เริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี พ.ศ. 2539 จนถึง ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเว็บ ทำให้การนำเสนอทำได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนั้น โปรแกรม Flash ยังสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น (Application) เพื่อใช้ทำงานต่างๆ รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และทำงานได้กับหลายๆ แฟลตฟอร์ม (Platform)